|
ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ อาชีพมั่นคง ตำบลน่าอยู่ มุ่งสู่เศรษฐกิจพอเพียง
ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดงอีจาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การพัฒนาด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การบริหารจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การพัฒนาการเมือง – การบริหาร
เป้าประสงค์
๑.ก่อสร้าง พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและเพียงพอ
๒.ประชาชนภายในตำบลดงอีจานมีคุณภาพชีวิตที่ดี
๓.ระบบการศึกษา ขนบธรรมเนียม ภูมิปัญญา ประเพณีอันดีของตำบลได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
๔.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและการแก้ไขปัญหายาเสพติด
๕.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในตำบลได้รับการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม
๖.การบริหารจัดการองค์กรมีความถูกต้อง รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ตรงตาม วัตถุประสงค์
ตัวชี้วัด
๑. ร้อยละเพิ่มขึ้นของการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
๒.ระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนภายในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๓.ระบบการศึกษาได้รับการพัฒนาและมีคุณภาพที่เพิ่มขึ้น
๔.ขนมธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ สืบสานอย่างต่อเนื่อง
๕.ร้อยละของประชาชนได้รับการช่วยเหลือเมื่อเกิดสาธารณภัย
๖.ร้อยละของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในตำบลได้รับการบริหารจัดการดูแล อนุรักษ์และฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
๗.ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อระบบบริหารและการให้บริการ
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่ ๑. ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุง รักษา ถนน ท่อระบายน้ำ ขุดลอกคลอง สะพานและ โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น
กลยุทธ์ที่ ๒. ก่อสร้างและปรับปรุง ระบบประปา
กลยุทธ์ที่ ๓. พัฒนาระบบไฟฟ้าสาธารณะ
กลยุทธ์ที่ ๔. พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
กลยุทธ์ที่ ๕. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้แก่ประชาชน
กลยุทธ์ที่ ๖. ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาด้านการเกษตร ประมงและปศุสัตว์
กลยุทธ์ที่ ๗. ส่งเสริมการประกอบอาชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ ๘. การสงเคราะห์คุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้ป่วยเอดส์
กลยุทธ์ที่ ๙. ส่งเสริมสุขภาพพลานามัยของประชาชน การป้องกันและระงับการระบาดของโรคติดต่อ
กลยุทธ์ที่ ๑๐. การจัดการและสนับสนุนการศึกษา
กลยุทธ์ที่ ๑๑. ส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
กลยุทธ์ที่ ๑๒. ส่งเสริม สนับสนุน และทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ ๑๓. ส่งเสริมและสนับสนุนความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
กลยุทธ์ที่ ๑๔. การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
กลยุทธ์ที่ ๑๕. ส่งเสริม อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ ๑๖.จัดการระบบบำบัด และกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล
กลยุทธ์ที่ ๑๗.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตตำบล
กลยุทธ์ที่ ๑๘. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
กลยุทธ์ที่ ๑๙. บริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใสตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์ที่ ๒๐. ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น ให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
กลยุทธ์ที่ ๒๑. การพัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารสำนักงาน สถานที่